พลาสติก… กู้วิกฤตโลกร้อน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม พลาสติกจะไม่ถูกทิ้ง ถ้าทุกคนรู้จักการนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะพลาสติกยังคงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่การทำให้พลาสติกมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสังคม คือเป้าหมายที่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ให้ความสำคัญ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) กล่าวว่า GC ตั้งเป้าวางแนวทางด้วยการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านแนวคิด ‘GC Circular Living’ เพื่อจัดการพลาสติกใช้แล้ว ตั้งแต่กระบวนการผลิตอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางคำพูดจาก เว็บตรงสล็อต
“ปลายทางจะดีได้ ต้องมีจุดเริ่มต้นที่ดีก่อน” จุดเริ่มต้นของการคืนคุณค่าให้พลาสติก GC เน้นจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบลูป ตั้งแต่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และร่วมกับพันธมิตรสร้างแพลตฟอร์ม “YOUเทิร์น” ตั้งจุดรับพลาสติกสะอาด (Youเทิร์น Drop Point) เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคคัดแยกพลาสติกใช้แล้วอย่างถูกวิธีตั้งแต่ต้นทาง ลดขยะพลาสติก ด้วยการนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าโรงงานรีไซเคิล ที่มีนวัตกรรมการรีไซเคิล เพื่อผลิตเป็น PCR ที่สามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลชนิดต่างๆ ที่ช่วยคืนคุณค่าของพลาสติกให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง แต่คงคุณภาพเดิมของพลาสติกไว้อย่างครบถ้วน
จากแนวคิดในการคืนคุณค่าให้พลาสติกใช้แล้ว ในแบบฉบับของ GC ได้สร้างชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรจากต้นทางถึงปลายทางแห่งแรกในจังหวัดระยอง“ชุมชนวัดชากลูกหญ้า”มองเห็นคุณค่าของขยะพลาสติก จนกลายเป็นภารกิจที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยแก้โลกรวน กู้โลกร้อน สร้างประโยชน์กลับคืนสู่ชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้และเป็นอาชีพถาวรให้กับหลายครอบครัวในชุมชน
โดย GC ได้นำ“YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ไปช่วยจัดการขยะแบบครบวงจร ทั้งการรับซื้อ การคัดแยก การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง ซึ่งขยะพลาสติกที่ชุมชนวัดชากลูกหญ้าเก็บได้ สามารถช่วยกู้วิกฤตโลกร้อน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเทียบกับการปลูกต้นไม้ได้มากถึง 20,949 ต้น และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 188.538 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งจากเดิมชุมชนนี้มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 8.2 ตันต่อวัน แต่เมื่อมีศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล มีการคัดแยกขยะจากครัวเรือนก่อนส่งเข้าทำให้ปริมาณขยะลดลงอยู่ที่ประมาณ 2.5 ตันต่อเดือน และคาดว่าจะช่วยบริหารจัดการขยะของชุมชนได้ถึง 10 ตันต่อเดือนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ปลายทางของพลาสติก คุณค่าที่ไม่มีวันลดลง” คุณค่าของพลาสติกที่เพิ่มได้ด้วยการจัดการที่ดี GC เชื่อว่า พลาสติกมีชีวิตใหม่ได้ด้วยการรีไซเคิลซึ่งโรงงานรีไซเคิลของ GC และพันธมิตร มีชื่อว่าบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO) เป็นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตจากยุโรปมาตรฐานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิต PCR ที่มีคุณภาพสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร (Food Grade) ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตแบบบูรณาการครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้สูงถึง 45,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น พลาสติกชนิด rPET (เช่น พลาสติกสำหรับผลิตขวดใส) 30,000 ตันต่อปี และชนิด rHDPE ( เช่น พลาสติกสำหรับผลิตขวดขุ่น) 15,000 ตันต่อปี โดย GC ดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก PCR รายแรกในประเทศไทย ที่มีการใช้พลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทยเป็นวัตถุดิบ 100% มาผลิตเป็นพลาสติกรีไซเคิล PCR คุณภาพสูง ที่สามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหาร มาตรฐานระดับโลกจนเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาและนำนวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR มาเป็นส่วนประกอบ และใช้เทคโนโลยีพิเศษ 3-Layered Plastic Recycle เพื่อจัดทำเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของมิสทินครั้งแรกในประเทศไทย”
พลาสติก เพียงแค่ คัด แยก และทิ้งให้ถูก เพื่อการรีไซเคิลให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างไม่สิ้นสุด ช่วยลดปริมาณขยะให้โลก ลดค่าใช้จ่ายในขบวนการแปรรูปพลาสติก ช่วยลดโลกร้อน …เพราะกระบวนการรีไซเคิล เป็นตัวช่วยสำคัญในการลดขยะพลาสติกในประเทศได้ ถึง60,000 ตัน/ปี เพราะวัตถุดิบการผลิต 100 % มาจากพลาสติกใช้แล้วในประเทศ ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี และเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ประมาณ 8.32 ล้านต้น หรือการปลูกป่าประมาณ 78,000 ไร่
เพียงแค่คุณเปลี่ยน โลกก็เปลี่ยน ความเชื่อมั่นที่GC ยึดเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจไม่ได้มีดีแค่ที่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่กระบวนการผลิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องดีไปพร้อมๆกันด้วย“ดีต่อโลก ดีอย่างยั่งยืน”