เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ต.ค. ที่กรมทางหลวงชนบท (ทช.) นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนา ทช. ครบรอบ 21 ปี โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ทช. ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ
นางมนพร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีโครงข่ายคมนาคมหลายเส้นทางที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในบางเส้นทางปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เช่น จ.กำแพงเพชร และ สุโขทัย ขณะเดียวกันหลังจากตนได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ใน จ.อุบลราชธานี ยโสธร และร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 6-7 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีบางเส้นทางน้ำกัดเซาคอสะพาน ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินทางสัญจรได้ หรือสัญจรได้เพียงช่องทางเดียว จากสะพานที่มีขนาด 2 ช่องจราจร ซึ่งประชาชนมีความต้องการให้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพิ่มการก่อสร้างสะพานเป็น 2 ช่องจราจร เพื่อให้สามารถสัญจรได้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ ทช. ขอจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 67 ให้แล้วเสร็จด้วย
ด้านนายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า สำนักบำรุงทาง ได้สรุปสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในโครงข่าย ทช. ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.-8 ต.ค. 66 ได้รับผลกระทบรวม 77 สายทาง 129 แห่ง พื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแพร่, ภาคกลาง 8 จังหวัด อุทัยธานี ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก กาญจนบุรี สุโขทัย นครนายก และลพบุรี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 9 จังหวัด นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี ชัยภูมิ หนองบัวลำภู และนครราชสีมา และภาคตะวันออก 4 จังหวัด ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด และระยอง หลังน้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติ ทช. จะสำรวจ ออกแบบ ประมาณราคา เพื่อดำเนินการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง เพื่อนำมาฟื้นฟูสายทางที่ได้รับผลกระทบต่อไป
นายอภิรัฐ กล่าวว่า ปัจจุบัน ทช. มีโครงข่ายในความรับผิดชอบทั่วประเทศ จำนวน 3,450 สายทาง ระยะทางรวม 49,653.785 กิโลเมตร (กม.) โดยได้เตรียมเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 67 จำนวน 91,910 ล้านบาท ซึ่งต้องรอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนถึงจะดำเนินการต่อไป ซึ่งในปีงบฯ 67 ทช. จะดำเนินการเหมือนปกติทุกปี เพื่อพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านทางและสะพาน การสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาจราจร ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ งานก่อสร้างทางและสะพาน, งานบำรุงรักษาทางและสะพาน และงานอำนวยความปลอดภัย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย รมว.คมนาคม และ รมช.คมนาคม และตอบสนองความต้องการประชาชนมากที่สุด
สำหรับโครงการสำคัญในปีงบฯ 67 เช่น 1.โครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำโขง นาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (แห่งที่ 2)-พระธาตุพนม อ.เมือง จ.มุกดาหาร และ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม 43.485 กม. 2.โครงการก่อสร้างถนนสาย สป.1006 แยก ทล.3-เคหะบางพลี อ.บางบ่อ และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ (ตอนที่ 1 และตอนที่ 2) ระยะทาง 9.525 กม. และ3.โครงการก่อสร้างถนนสาย อย.3046 แยก ทล.309-บ.ตลิ่งชัน อ.วังน้อย และ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 7.240 กม.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับปีงบฯ 66 ทช. ได้รับงบประมาณ 47,108.9146 ล้านบาท สิ้นปีงบประมาณ (30 ก.ย. 66) เบิกจ่ายไปแล้ว 42,606.6463 ล้านบาท คิดเป็น 90.44% ซึ่งในปีงบฯ 66 มีโครงการสำคัญดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ เช่น ถนนสาย ข9, ค3 ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย-ท้ายเหมือง จ.พังงา งบประมาณ 282.821 ล้านบาท, ถนนสาย ง1 ผังเมืองรวมเมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ งบประมาณ 336 ล้านบาท, ถนนสาย นฐ.3061 แยก ทล.375-ศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม จ.นครปฐม งบประมาณ 440 ล้านบาท และสะพานข้ามคลองดู อ.ละงู จ.สตูล งบประมาณ 291 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทช. ยังมีโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการคาดแล้วเสร็จในปี 67 อาทิ โครงการก่อสร้างถนนสาย นย.3007 แยก ทล.305-บ้านคลอง 33 อ.องครักษ์ จ.นครนายก งบประมาณ 716.350 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างถนนสาย พท.4007 แยก ทล.404-บ้านทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.สงขลา งบประมาณ 249.100 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองตำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล 433.190 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.3452-สี่แยกบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี จำนวน 2 ตอน งบประมาณ 1,799,999 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีโครงการที่คาดแล้วเสร็จในปี 68 อาทิ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ จ.นนทบุรี งบประมาณ 902 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างสะพานบนถนนสาย รย.4060 อ.เขาชะเมา จ.ระยอง และ และ อ.แก่งห่างแมว จ.จันทบุรี งบประมาณ 587.516 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี งบประมาณ 1,181 ล้านบาท