ที่ประเทศอินโดนีเซีย มีจระเข้น้ำเค็มว่ายน้ำวนเวียนใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ จนสร้างความหวาดระแวงให้กับผู้คนในท้องถิ่น อย่างเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเมืองบูตัน บนเกาะสุลาเวสีใต้ ช่วยกับจับจระเข้ตัวหนึ่งที่มีความยาวกว่า 4 เมตร หลังจากพบมันว่ายน้ำอยู่รอบๆหมู่บ้านของพวกเขา ทำให้พวกเขาหวาดกลัวว่า เจ้าจระเข้ตัวนี้จะบุกขึ้นมาคุกคามชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน
ชวนรู้ข้อแตกต่าง ระหว่าง "จระเข้" กับ "อัลลิเกเตอร์"
ญี่ปุ่นตั้งรางวัลล่าหมี หลังมีเหตุทำร้ายคนพุ่งสูงขึ้น!
เกือบไปแล้วเมี้ยว! ตำรวจจีนช่วยแมว 1,000 ตัว หวิดถูกเชือดทำเนื้อเสียบไม้
ทั้งนี้อินโดนีเซียขึ้นชื่อเรื่องของการที่มนุษย์ถูกจระเข้จู่โจมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า มีเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่งไปอาบน้ำ และตักน้ำในแอ่งน้ำใกล้บ้าน บนเกาะบังกา จากนั้นก็มีจระเข้น้ำเค็มขนาดความยาว 3 เมตรตัวหนึ่งจู่โจมเข้ากัดเธอ ขณะที่เธอกำลังจะอาบน้ำ และยังพยายามลากเธอลงน้ำด้วย แต่เคราะห์ดีที่รอดชีวิตมาได้
รายงานจากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่พบเหตุโจมตีของจระเข้น้ำเค็มมากที่สุดในโลก โดยที่นั่นเกิดเหตุจระเข้จู่โจมมนุษย์ประมาณ 1,000 ครั้ง และในจำนวนนี้ มีเกือบ 90 ครั้งเกิดขึ้นในจังหวัดบังกา-เบลิตุง ซึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา
ส่วนเหตุโจมตีจระเข้ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 450 คน
ทำไมจังหวัดบังกา-เบลิตุง ถึงเกิดเหตุจระเข้โจมตีมากกว่าส่วนอื่นๆของอินโดนีเซีย?
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ผลิตแร่ดีบุกเป็นอันดับ 1 ของโลก และ 70% ของผลผลิตทั้งหมดมาจากเกาะบังกา ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดบังกา-เบลิตุง การแสวงหาผลประโยชน์จากการทำเหมืองแร่ดีบุกมานานหลายทศวรรษในพื้นที่แห่งนี้ได้ทำลายผืนป่าบนเกาะ และทิ้งหลุมขนาดใหญ่หลายพันแห่งจนกลายเป็นลักษณะคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์ไว้ให้ดูต่างหน้า
กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า ระบุว่า เวลานี้พื้นที่บนเกาะแห่งนี้มากกว่า 60 % ถูกปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นเหมืองแร่ดีบุก และหลายแห่งก็เป็นเหมืองแร่ที่ผิดกฎหมายด้วย ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้ภูมิปัญหาแบบดั้งเดิมในการทำเหมืองแร่บนบก และมีการทำเหมืองแร่ในทะเล
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การขุดแร่ดีบุกที่ผิดกฎหมายคือต้นตอของปัญหาจระเข้จู่โจมมนุษย์ เพราะยิ่งผู้คนเริ่มขยับตัวออกไปไปขุดเหมืองแร่ดีบุก หรือออกไปทำเหมืองในทะเลก็จะมีจระเข้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆที่ถูกบีบให้ออกจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมัน จากนั้นจระเข้เหล่านี้ก็จะเข้ามาใกล้แหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงแหล่งทำมาหากินของมนุษย์มากขึ้น และทำให้เกิดเหตุการณ์จระเข้โจมตีชาวบ้านบ่อยครั้งขึ้น
ทั้งนี้จระเข้น้ำเค็มถูกจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีชีวิตอยู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะตัวผู้ที่ตัวเต็มวัย มีขนาดความยาวได้มากกว่า 7 เมตร ขณะที่ทั่วโลกมีจระเข้น้ำเค็มประมาณ 20,000 ถึง 30,000 ตัว แม้ไม่ได้มีการระบุว่า จระเข้ประเภทนี้อาศัยอยู่ในอินโดนีเซียเป็นจำนวนเท่าใด แต่ที่นั่น เป็นหนึ่งในแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญที่สุด
ส่วนจระเข้เป็นสัตว์คุ้มครองในอินโดนีเซีย แต่ว่า ในเกาะบังกา พบว่า หลังจากจระเข้จู่โจมทำร้ายมนุษย์ พวกมันจะถูกชาวบ้านฆ่าตาย แทนที่จะถูกจับมัดส่งหน่วยงานอนุรักษ์ในท้องถิ่น
ที่จระเข้ต้องถูกฆ่าตาย เป็นเพราะชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่า การปล่อย และให้การช่วยเหลือจระเข้ไปยังสถานที่อื่นๆ ถือเป็นลางร้ายของหมู่บ้าน ทำให้พวกเขาเลือกที่จะฆ่าจระเข้ทิ้ง และประกอบพิธีกรรมฝังพวกมันแทน
เอนดี เรียดี (Endi Riadi) ผู้ดูแลศูนย์ช่วยเหลือ และอนุรักษ์สัตว์ป่าเพียงแห่งเดียวบนเกาะแห่งนี้เล่าว่า ทีมงานของศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่ามักโต้เถียงกับชาวบ้านเพื่อพยายามช่วยชีวิตจระเข้ อยู่หลายครั้ง แต่ก็ยากที่จะจัดการ
ปัจจุบัน ที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ฯ บนเกาะแห่งนี้มีจระเข้ที่ได้รับการช่วยเหลืออยู่ 34 ตัว และแอดอัดยัดเหยียดอยู่ในสระน้ำที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของสนามเทนิส ที่กั้นด้วยรั้วเหล็กที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันหลุดรอดออกไป และโจมตีสัตว์อื่น หรือชาวบ้าน
อย่างไรก็ตามการดูแลจระเข้เหล่านี้ทั้งหมดไว้ที่ศูนย์ช่วยเหลือฯ มีค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะทางศูนย์ฯ ไม่ได้รับเงินทุนโดยตรงจากรัฐบาล และต้องอาศัยเพียงเงินบริจาคเท่านั้น ทำให้พวกเขาต้องประสานร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ ให้บริจาคซากวัวที่ล้มตายตามธรรมชาติเพื่อเอาไปให้จระเข้กินเดือนละครั้ง
แม้ตอนนี้จะมีจระเข้บุกโจมตีชาวบ้านมากขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถจับมันเอาไปไว้ที่ศูนย์ดูแลสัตว์ฯ แห่งนี้ได้ เพราะตอนนี้ที่นั่นอัดแน่นไปด้วยประชากรจระเข้ที่มากเกินไป แต่การปล่อยพวกมันกลับคืนสู่ป่าก็ไม่ใช่ทางเลือกเช่นเดียวกัน
แล้วรัฐบาลอินโดนีเซียแก้ไขปัญหานี้อย่างไร? คำพูดจาก สล็อตเว็บตรงฝาก
เหตุโจมตีมนุษย์ของจระเข้จะไม่ลดน้อยลง เว้นแต่ว่าที่อยู่อาศัยของพวกมันจะได้รับการคุ้มครอง
อามีร์ ชยาห์บานา (Amir Syahbana) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ดูแลพลังงาน และทรัพยากรแร่ ระบุว่า เวลานี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้เปิดใช้แนวทางในการจัดการกับการทำเหมืองแร่ที่ผิดกฎหมาย โดยออกใบอนุญาตการทำเหมืองให้กับเหมืองที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ แต่แลกกับการให้พวกเขารับผิดชอบในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยให้กับจระเข้ ตั้งแต่การปลูกต้นไม้ ไปจนถึงการจัดการขยะ
แต่หลายคนไม่มั่นว่า วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่ และการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอบนเกาะแห่งนี้ อาจทำให้คนงานเหมืองแร่เหล่านี้เลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตาม เพราะสุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ดี